ข่าวจาก BOI

BOI go Green ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG 21 ตุลาคม 2564

BOI go Green ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG คณะกรรมการการลงทุนแห่งประเทศไทยหรือ BOI ได้เสนอสิ่งจูงใจการลงทุนหลากหลายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพสีเขียวหรือ BCG อย่างครอบคลุมตามแนวคิดธุรกิจหลักสามประการซึ่งมีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่คุ้มค่าที่สุดวัสดุรีไซเคิลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับการกระทําระดับโลกเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ จัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการลงทุน ในหัวข้อ "THERE ARE COUNTLESS REASONS TO INVEST IN THAILAND". 21 ตุลาคม 2564

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ จัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการลงทุน ในหัวข้อ "THERE ARE COUNTLESS REASONS TO INVEST IN THAILAND".

บีโอไอ ได้จัดทำประกาศเรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ ป. 5 /2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านที่สนใจสามารถยื่นขอรับส่งเสริมมาตรการดังกล่าวได้ 14 ตุลาคม 2564

บีโอไอ ได้จัดทำประกาศเรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ ป. 5 /2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านที่สนใจสามารถยื่นขอรับส่งเสริมมาตรการดังกล่าวได้

บีโอไอเผยภาวะการส่งเสริมการลงทุน 2564 (มกราคม-กันยายน 64) 14 ตุลาคม 2564

บีโอไอเผยภาวะการส่งเสริมการลงทุน 2564 (มกราคม-กันยายน 64) มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 1,273 โครงการ มูลค่าลงทุน 520,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 140 % คำขอรับการส่งเสริมในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ลงทุนสูงสุด -เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 77,210 ล้านบาท -อุตสาหกรรมการแพทย์ 59,210 ล้านบาท การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยื่นขอบีโอไอ มูลค่าลงทุน 372,068 ล้านบาท

BOI ปลดล็อก Local Content 30% ลงทุนใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติในโรงงาน 12 ตุลาคม 2564

บอร์ดบีโอไออนุมัติมาตรการสนับสนุนการยกระดับอุตสาหกรรมและบริการให้เป็นระบบอัจฉริยะ ใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติในโรงงานได้ หวังดันไทยสู่ ก้าว Industry 4.0 ผู้ประกอบการไม่ต้องเข้าเงื่อนใช้ local content 30% ได้ยกเว้นภาษี 3 ปี สัดส่วน 100% ของเงินลงทุนในการปรับปรุง คาด 10,000 โรงงานใน EEC ได้อานิสงส์เพียบ ทั้งนี้บอร์ดยังต่ออายุมาตรการ SMEs อีก 1 ปี ยื่นขอบีโอไอได้ถึงสิ้นปี’65

ไฟเขียวจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในอีอีซีเพิ่ม 6 แห่ง รับนักลงทุนต่างชาติ 08 ตุลาคม 2564

ครม.เห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม 6 แห่ง ในพื้นที่ EEC ตั้งเป้าลงทุน 10 ปี กว่า 3 แสนล้านบาท รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในอนาคต เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม จำนวน 6 แห่ง และเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 1 แห่ง ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเพิ่มจุดแข็งดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและรองรับการลงทุนในอนาคต เนื่องจากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) มีพื้นที่รับรองการประกอบกิจการอุตสาหกรรมและการค้า (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563) จำนวน 15,836 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะรองรับการลงทุนได้เพียง 5 ปี จึงต้องจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้น 6 แห่ง ดังนี้ 1.การจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการอุตสาหกรรมรูปแบบนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 5 แห่ง โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 6,884 ไร่ สามารถรองรับการประกอบกิจการได้ประมาณ 5,098 ไร่ ตั้งเป้าหมายการลงทุน 280,772 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2564-2573) ประกอบด้วย (1) นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 698 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์ (2) นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 1,501 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์ (3) นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีน จังหวัดชลบุรี พื้นที่ 978 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (4) นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง จังหวัดระยอง พื้นที่ 421 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ และดิจิทัล (5) นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จังหวัดระยอง พื้นที่ 1,498 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ 2.จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง จังหวัดระยอง มีพื้นที่รวม 519 ไร่ สามารถรองรับการประกอบกิจการ 360 ไร่ ตั้งเป้าหมายการลงทุน 20,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2564-2573) โดยจะพัฒนาพื้นที่เพื่อประโยชน์ในการ 2.1) พัฒนางานวิจัย กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและกิจการที่เกี่ยวข้องไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.2) พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะกำหนดพื้นที่นำร่องของ EEC ในการพัฒนาระบบโครงข่าย 5G อย่างเต็มรูปแบบ 3.เปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ พัทยา (EECmd) โดยเปลี่ยนแปลงแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินของศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ฯ และเพิ่มพื้นที่ประมาณ 18 ไร่ ทำให้พื้นที่รวมของศูนย์มีทั้งสิ้น 585 ไร่ จากเดิม 566 ไร่

หน้า 16 / 40