ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563

24 มีนาคม 2563

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
Thai Industries Sentiment Index: TISI
ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563

           สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการสำรวจความเชื่อมัน่ ผู้ประกอบการ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 1,209 ราย จากสมาชิกสภาอุตสาหกรรม ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรม

           ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น ภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ระดับ 90.2 ปรับตัวลดลงจากเดือนมกราคม ที่ระดับ 92.2 โดยค่าดัชนีฯ ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561

           ทั้งนี้ความเชื่อมั่น ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามีสาเหตุจากความกังวลต่อการชะลอตัวและอุปสงค์และกำลังซื้อที่ซบเซา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การดำเนินกิจการประสบปัญหาด้านการผลิต การจำหน่าย รวมทั้งการขนส่งสินค้าและการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศจีนที่มีความล่าช้า ขณะที่ปัญหาภัยแล้งก็ส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบการเกษตรลดลง นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าในโครงการก่อสร้างของภาครัฐส่งผลต่อความเชื่อมัน่ ของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง

            สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 98.1 โดยลดลงจาก 99.4 ในเดือนมกราคม โดยค่าดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 45 เดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2559

           เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรงและกระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไปโดยเฉพาะกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัว ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ส่งผลให้การบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมลดลง

♦ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ♦

1. สภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการมีความกังวล ร้อยละ 65.8 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 64.6 ในเดือนมกราคม เนื่องจากผู้ประกอบการส่งออกมีความกังวลเกี่ยวกับการส่งออกของไทยและภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากการระ บาดของไวรัสโควิด – 19 ส่งผลให้คำสัง่ ซื้อต่างประเทศลดลงทัง้ ในเดือนปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า

2. สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ผู้ประกอบการมีความกังวล ร้อยละ 48.6 เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 46.0 ในเดือนมกราคม เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ทำให้กระทบต่อและการลงทุนภาครัฐ

3. อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เฉลี่ยเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 31.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง จากค่าเฉลี่ยในเดือนมกราคม ที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์
สหรัฐฯ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวล
ร้อยละ 48.2 ลดลง จากร้อยละ 55.1ในเดือนมกราคม เนื่องจากเงินบาทของไทยอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าส่งผลดีต่อผู้ประกอบการส่งออก

4. ราคาน้ำมัน ผู้ประกอบการมีความกังวล ร้อยละ 32.1 ลดลง จากร้อยละ 35.5 ในเดือนมกราคม จากราคาน้ำมันใน
ประเทศปรับตัวลดลง ตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก

5. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ผู้ประกอบการมีความกังวล ร้อยละ 19.8 ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนมกราคม

อ่านฉบับเต็มได้ที่: https://bit.ly/39eQDny
ที่มา: www.fti.or.th