ข่าวทั่วไป

ผลตอบแทนแหลมฉบังฯเฟส3 21 เมษายน 2564

ผลตอบแทนแหลมฉบังฯเฟส3 คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติอนุมัติผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินขั้นต่ำที่ภาครัฐจะได้รับจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2564 [ค่าสัมปทานคงที่เท่ากับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อทีอียู] ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ แม้ผลตอบแทนจะต่ำกว่าที่ภาครัฐคาดการณ์ไว้แต่หากมีการคัดเลือกเอกชนใหม่จะมีผลกระทบต่อการเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ F โดยอาจล่าช้าประมาณ 2 ปี ส่งผลให้ไม่สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าได้ และกรณีที่มีการถมทะเลแล้วเสร็จแต่ไม่มีการร่วมลงทุนสร้างท่าเทียบเรือได้ทันที จะทำให้ กทท. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงโครงสร้างในส่วนดังกล่าว และภาครัฐมีความเสี่ยงที่จะไม่มีเอกชนยื่นข้อเสนอหรือเสนอผลตอบแทนต่ำกว่าเดิม เนื่องจากการระบาดโควิด - 19

แผนเคลียร์ทางสร้าง“ไฮสปีดเทรน” 19 เมษายน 2564

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อเร็วๆ นี้ เห็นชอบเรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2564 เรื่อง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (งานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน)ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ โดยที่ประชุมครม.ขออนุมัติเรื่องเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการกำหนด “พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” เพิ่มเติม โดยขอขยายกรอบวงเงินค่างานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจากกรอบวงเงินจำนวน 3,570.29 ล้านบาทเป็นจำนวนไม่เกิน 5,740.44 ล้านบาท ทั้งนี้ เงินที่เพิ่มขึ้นมาก เป็นการให้กพอ. ได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยขอรับจัดสรรงบประมาณส่วนที่เพิ่มขึ้น 2,170.15 ล้านบาท แบ่งเป็น งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 607.56 ล้านบาท และ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1,562.59 ล้านบาท

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผย ข้อมูลธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : Eastern Economic Corridor (EEC) ประกอบด้วยเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง มีการการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2564 16 เมษายน 2564

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผย ข้อมูลธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : Eastern Economic Corridor (EEC) ประกอบด้วยเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง มีการการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2564 มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในเขตพื้นที่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง รวม 1,137 ราย ทุนจดทะเบียน 2,619.85 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.-ก.พ. 2563 จำนวน 1,369 ราย เติบโตลดลงคิดเป็น 16.95% และมูลค่าทุนจดทะเบียนลดลงจาก 3,516.83 ล้านบาท คิดเป็น 25.51% โดย 67.19% เป็นการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 764 ราย ทั้งนี้ ปัจจุบันพื้นที่ 3 จังหวัด ในเขตEEC มีนิติบุคคลคงอยู่ ณ 28 ก.พ. 2564 จำนวน 73,645 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1.97 ล้านล้านบาท โดยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนสูงสุดยังเป็นกลุ่มก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ แต่มีกลุ่มที่น่าสนใจซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเพิ่มหนึ่งใน 3 คือ ขนส่ง ขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสาร หรือ โลจิสติกส์

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เตรียมส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า 23 มีนาคม 2564

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่เตรียมส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งได้มีการตั้งบริษัท EGAT Innovation Holding จำกัด เพื่อทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟ้ฟ้า

“สศอ.” ระบุโควิด-19 กระทบ MPI มี.ค.63 หดตัวร้อยละ 11.25 01 พฤษภาคม 2563

“สศอ.” ระบุโควิด-19 กระทบ MPI มี.ค.63 หดตัวร้อยละ 11.25

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ประจำเดือนมีนาคม 2563 24 เมษายน 2563

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) ประจำเดือนมีนาคม 2563

หน้า 14 / 18